ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ส่งผลผลกระทบต่อธุรกิจและการดำรงชีวิตในหลายมิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก เกิดกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กรต่างๆ กระตุ้นให้องค์กรมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมที่สะสมและทวีความรุนแรงมากขึ้นนี้ เป็นแรงผลักดันทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรสีเขียว (Green Organization) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความมุ่งมั่นในการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน องค์กรต่างๆได้กำหนดขอบเขตและความหมายขององค์กรสีเขียวที่ยั่งยืน (Sustainable Green Organization) ให้หมายถึง องค์กรที่มีการดำเนินการธุรกิจและกิจกรรมต่างๆด้วยนโยบายและแนวปฏิบัติตามหลักการใช้ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัฒนธรรมองค์กรในการปลูกจิตสำนึก กำหนดแนวปฏิบัติ สื่อสาร และถ่ายทอดให้แก่บุคลากรในองค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นหลัก
หน่วยงานจัดซื้อเป็นหน่วยงานที่สามารถทำหน้าที่ขับเคลื่อนโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการดำเนินกระบวนการจัดซื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสมในการสรรหาสินค้าและบริการ การคัดเลือกผู้ส่งมอบ รวมถึงการพิจารณาวัตถุดิบ จึงมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะสร้างความร่วมมือระหว่าง AIS กับผู้ส่งมอบ และส่งเสริมการนำหลักการผลิตที่สะอาดมาใช้
ดังนั้น AIS จึงให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดซื้อจัดหา ฝ่ายบริหารจึงได้ให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานจัดซื้อจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green procurement และให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบริโภคสินค้า/บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
AIS ได้กำหนดนโยบาย “การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Procurement” ขึ้นใช้ในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างกลไกในการลดการใช้ทรัพยากรและลดการปล่อยของเสียและมลพิษให้น้อยลง ลดและเลิกใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย รวมไปถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังสนับสนุนให้หน่วยงานภายในองค์กรได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และระเบียบฯที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ภายใต้แนวทางดังนี้
1.สนับสนุนให้มีการนำหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle)
2.หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง
3.จัดซื้อสินค้าและบริการที่ประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น
4.จัดซื้อสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีไร้มลพิษ (Clean technology) และใช้เชื้อเพลิงที่ไม่ก่อมลพิษ (Clean fuels)
5.จัดซื้อสินค้าและบริการที่ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำลดลง
6.จัดซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ปล่อยสารระคายเคืองหรือสารพิษในระหว่างการติดตั้งหรือใช้งาน
7.จัดซื้อสินค้าและบริการที่ส่งผลให้ไม่เกิดหรือเกิดการผลิตสารพิษน้อยลงในขณะกำจัด
8.จัดซื้อสินค้าและบริการที่ป้องกันมลพิษ และการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน
9.สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การไม่ตัดไม้ทำลายป่า และการอนุรักษ์ที่ดิน
AIS ได้ร่วมมือในเชิงรุกกับพันธมิตรทางการค้าในการริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม และเรียกร้องให้ผู้ขายปฏิบัติตาม โดยเริ่มกำหนดคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อมเป็นข้อกำหนดบังคับของการประกวดราคา หรือเป็นข้อกำหนดพึงประสงค์ รวมทั้งมีแผนที่จะจัดทำข้อกำหนดการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing Guideline) เพื่อให้ผู้ขายดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยมีข้อกำหนดต่อผู้ขายดังต่อไปนี้