คณะกรรมการบริษัทได้ประกาศใช้ “นโยบายการกำกับ ดูแลกิจการ”กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ มาตั้งแต่ปี 2545 โดยมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยมอบ หมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำกับดูแลกิจการเป็นผู้ทบทวนและพิจารณาในเบื้องต้น ก่อนนำเสนอ คณะกรรมการ บริษัทอนุมัติ โดยปรับปรุงครั้งล่าสุดในปี 2560
การกำกับดูแลกิจการของ เอไอเอส ยึดถือการปฏิบัติ ตามกฎหมายเป็นขั้นพื้นฐาน และพัฒนาให้มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับตามแนวทางการดำเนินธุรกิจ ที่ยอดเยี่ยม (Best practice) ด้วยธรรมภิบาลและการเติบโต อย่างยั่งยืนทั้งใน ระดับประเทศและระดับสากล เช่น หลักเกณฑ์ ตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการ บริษัทจดทะเบียนไทย โดยสมาคม ส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (CGR) ASEANCorporate Governance Scorecard (ASEAN CG Scorecard) และ ดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices:DJSI)
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของเอไอเอส และการปฏิบัติ หน้าที่ของทุกคนในองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตรงไปตรงมา และเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม อันเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน คณะกรรมการ บริษัทจึงกำหนดให้มี “ประมวลจริยธรรมธุรกิจ” ที่ประกอบ ด้วยแนวปฏิบัติ 12 หมวด ครอบคลุมตั้ง แต่เรื่องความรับผิดชอบ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย การป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ และจัดให้มีคณะกรรมการจริยธรรม ซึ่งประกอบด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่ ขับเคลื่อนและกำกับดูแลจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งจัดให้มีช่องทางลับสำหรับ พนักงานและบุคคลภายนอก เพื่อแจ้งเรื่องการกระทำที่อาจจะเข้าข่ายการละเมิดจริยธรรมต่อคณะกรรมการบริษัท โดยผู้แจ้งข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองตาม “นโยบายการให้ข้อมูลการกระทำผิดและการทุจริต การสอบสวน และการคุ้มครอง ผู้ให้ข้อมูล” ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้สื่อสารนโยบายดังกล่าวให้ภายในองค์กรรับทราบผ่านช่องทางและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น อีเมล อินทราเน็ต แผ่นป้ายประกาศ และการรณรงค์ภายในบริษัท